วัดป่าเรไลยก์ วรวิหาร

วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ทางฝั่งด้านทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน ทุกปีจะมีงานเทศกาลสมโภช และนมัสการหลวงพ่อวัดโต ป่าเลไลยก์ 2 ครั้ง คือ ในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12



     ก่อนที่จะเข้าไปภายในบริเวณวัด เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตที่วัดนี้นั้น เรามาทราบประวัติความเป็นมาของวัดนี้อย่างคร่าวๆกันเสียก่อน ตามที่ท่าน พระศรีธวัชเมธี (ชนะ เปรียญธรรม ๙ ประโยค) ได้บันทึกไว้ว่า
     
    วัดนี้จะสร้างขึ้นเมื่อไรนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่จากการสันนิษฐานโบราณวัตถุสำคัญของวัด คือ พระปางปาลิไลยกะ ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า หลวงพ่อโต กะประมาณอายุอย่างต่ำสุดสร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๓) อย่างสูงสุดยุคทวารวดีตอนต้น (พ.ศ. ๑๒๐๐) มีอายุจนถึงทุกวันนี้ ระหว่าง ๖๕๐ - ๑๓๐๐ ปี



       ส่วนองค์พระปาเลไล (หลวงพ่อโต)นั้น ของเดิมไม่มีวิหาร ทำเป็นพระพุทธรูปนั่งในคฤห ตัวคฤหนั้นยังอยู่จนทุกวันนี้ ถ้าสังเกตดูจะเห็นได้ ในภายหลังมีผู้ศรัทธาสร้างวิหารต่อออกจากคฤห ยังสังเกตเห็นที่ต่อได้เหมือนกัน จะต่อเมื่อครั้งใดไม่ทราบ สันนิษฐานว่าคงเป็นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

        ต่อมาเมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารได้ชำรุดทรุดโทรมลงไป พระพุทธรูปเองพระกรที่สร้างแปลงใหม่ก็พังไปเสียอีก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) จึงโปรดให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ที่ สมุหนายกเป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ทั้งพระวิหารและองค์พระ พุทธรูป ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้

ในจดหมายเหตุรัชกาลที่ ๔ จ. ศ. ๑๒๒๐ ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๒๔๐๑ ทำให้ทราบได้แน่ชัดว่า วิหารพร้อมองค์หลวงพ่อโตได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ดังเนื้อความในจดหมายเหตุที่ว่า

     สารตรา ท่านเจ้าพระยาจักรี มาถึงพระยาสุพรรณ พระปลัด กรมการ ด้วยบอกเข้าไปแล้วว่า ได้เกณฑ์เลขโยมสงฆ์เมืองสุพรรณ ขอแรงขุนหมื่นในกรมการผลัดเปลี่ยนกันทำวัดพระป่าเลไลยเดือนละ ๔ ผลัด เป็นคน ๒๐ คน ได้ปลูกทำร่มพระและก่อปั้นต่อพระกรตั้งแต่พระอังสะจนถึงฝ่าพระหัตถ์ที่ชำรุดแตกพังเสร็จแล้ว ยังแต่พระรัศมี ยังไม่มีไม้ขอนสักจะทำ ได้ลงรักพระปฏิมากร ๒ ครั้ง ยังแต่จะลงรักน้ำเกลี้ยงต่อไป

     ได้ปลูกศาลา ๒ หลัง จ้างจีนขุดสระๆ หนึ่ง ได้รื้อผนังด้านเหนือด้านใต้ แต่ผนังด้านหน้ายังไม่ได้รื้อ ถ้ารื้อเสร็จแล้วไปขอเลข ๑๒๐ คน ผลัดเปลี่ยนกันมาทำวัดนั้น ได้ทำหนังสือบอกขึ้นกราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทราบใต้ฝ่าละอองแล้ว

     มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าว่า วัดพระป่าเลไลยเป็นวัดเก่าโบราณ พระพุทธปฏิมากรชำรุดแตกหักมาก ได้โปรดให้เจ้าพระยา นิกรบดินทร์ฯ ออกมาดูการสิ่งใดชำรุด ได้บัญชาให้พระยาสุพรรณ กรมการ เร่งจัดทำขึ้นนั้นชอบดีอยู่แล้ว และพระยาสุพรรณ กรมการ บอกขอเลข ขอไม้ยอดพระรัศมี ขอไม้ขอนสัก ไม้เสาใช้สอยเป็นการวัดพระป่าเลไลยนั้น ก็ให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ฯ ดูแลอย่าให้ขัดสน พระยาสุพรรณ กรมการ จะได้เร่งรัดทำต่อไป

       เจ้าพระยานิกรบดินทร์ฯ กราบบังคมทูลพระกรุณา ยอดพระรัศมีก็ได้ให้แต่งตัวใหม่อยู่ทุกวัน เสาไม้ก็ได้ให้ขุนหมื่นคุมเงินไปจัดซื้ออยู่ แล้วจะส่งไม้ออกไปภายหลัง แต่เลขเมืองสุพรรณนั้นให้พระยาสุพรรณ กรมการ เกณฑ์ขอแรงผลัดเปลี่ยนกันมาทำวัดป่าเลไลยก็ตามบอกขอเข้าไปเถิด

       และการรื้อ - ต่อผนัง กับของสิ่งใดที่ควรจะต้องทำก็ให้พระยาสุพรรณ กรมการ เร่งรัดทำไปพลางๆ สุดแต่อย่าให้ของค้าง อย่าให้คนว่างเปล่าได้เป็นอันขาดทีเดียว กับให้จัดเรือและคนรับเงินปูนผงจากพวกด่านเขมร เข้าไปส่ง ณ กรุงเทพฯ จงเนืองๆ ด้วย ได้ลงมือทำสิ่งใดแล้วไปกี่ส่วน ยังกี่ส่วนจะต้องการของสิ่งใดบ้าง ให้พระยาสุพรรณ กรมการ บอกรายการเข้าไปจงเนืองๆ จะได้กราบบังคมทูลพระกรุณาให้ทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท สารตรามา ณ วันศุกร์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนอ้าย โทศก


    แต่เดิมดูเหมือนจะเป็นวัดพุทธาวาส ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เลย แต่ก็มีพระสงฆ์ไปอยู่บ้างเป็นครั้งเป็นคราว ที่มาสร้างเป็นวัด สังฆาราม มีพระอุโบสถมั่นคง เป็นของสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๖ กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง วัดป่าเลไลยก์นี้ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๒  ต่อมาได้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นหลังหนึ่ง โดยความร่วมมือของชาวบ้าน, พระสงฆ์นำโดยพระครูโพธาภิรัต (หลวงพ่อสอน) และผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยข้าราชการ  จึงได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา ที่หน้าบันของพระอุโบสถมีตัวอักษรจารึกเขียนไว้ว่า (สร้างเสร็จ) เมื่อปีฉลู สัตตศก พ.ศ. ๒๔๖๘ รัตนโกสินทรศก ๑๔๔

     ส่วนองค์พระป่าเลไล (หลวงพ่อโต)นั้น ของเดิมไม่มีวิหาร ทำเป็นพระพุทธรูปนั่งในคฤห ตัวคฤหนั้นยังอยู่จนทุกวันนี้ ถ้าสังเกตดูจะเห็นได้ ในภายหลังมีผู้ศรัทธาสร้างวิหารต่อออกจากคฤห ยังสังเกตเห็นที่ต่อได้เหมือนกัน จะต่อเมื่อครั้งใดไม่ทราบ สันนิษฐานว่าคงเป็นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

     ต่อมาเมื่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วิหารได้ชำรุดทรุดโทรมลงไป พระพุทธรูปเองพระกรที่สร้างแปลงใหม่ก็พังไปเสียอีก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) จึงโปรดให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ที่ สมุหนายกเป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ทั้งพระวิหารและองค์พระ พุทธรูป ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้..


การเดินทาง
การเดินทางไปวัดป่าเลไลยก์นั้นไม่ยากเลย เพราะว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในตัวเมืองสุพรรณบุรี ถ้าท่านเดินทางมาด้วยรถส่วนตัวจะยิ่งสดวก แต่ถ้าท่านมาโดยรถประจำทางก็มาลงในตัวจังหวัดหรือที่สถานีขนส่ง จะมีรถรับจ้างเป็นรถสองแถววิ่งรอบๆตัวเมือง ซึ่งผ่านวัดด้วย ถ้าดูตามแผนที่ข้างล่างนี้จะเห็นได้ว่า วัดป่าเลไลยก์ ไปได้อย่างสะดวกในหลายๆเส้นทาง.

ท่านที่เดินทางมาจากทางกรุงเทพ

1. จากถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี เมื่อท่านมาถึงตัวเมืองสุพรรณบุรี จุดสังเกตแรกที่เด่นชัดคือ ป้ายห้างโรบินสัน ขับตรงไปอีก ประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อเห็นป้ายห้างโลตัส ให้ชิดซ้ายออกทางขนานที่อยู่เลยหน้าห้างโลตัสไปนิดนึง

2. เมื่อออกทางขนานแล้ว วิ่งไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้าย ให้เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางนี้ ประมาณ 4.25 กิโลเมตร วัดป่าเลไลยก์จะอยู่ทางซ้ายมือ  สังเกตุเห็นได้ชัดเจน

ท่านที่เดินทางมาจากทางทิศเหนือ (เช่น ชัยนาท)

1. มาตามถนนสุพรรณ-ชัยนาท เมื่อมาถึงตัวเมืองสุพรรณบุรี (สังเกตศูนย์ราชการ) วิ่งเส้นในทางด่วน สังเกตป้ายห้างโลตัส

2. ให้เลี้ยวยูเทิร์นตรงหน้าห้างโลตัส เมื่อเลี้ยวแล้วต้องชิดซ้ายทันที เพื่อออกทางคู่ขนาน

3. เมื่อออกทางขนานแล้ว วิ่งไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร มีทางแยกซ้าย ให้เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางนี้ ประมาณ 4.25 กิโลเมตร วัดป่าเลไลยก์จะอยู่ทางซ้ายมือ สังเกตุเห็นได้ชัดเจน



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น