อำเภอ อู่ทอง

อำเภอ อู่ทอง



คำขวัญอำเภอ    แหล่งรอยพระพุทธบาท เกียรติประกาศเรื่องทอผ้า เจ้าพ่อพระยาไกร ถิ่นรักไทยทรงดำ ถ้ำเสือพระดีมีคอกช้างดิน ถิ่นเก่าน้ำตก
  ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ        ม.6 ต.อู่ทอง อ.อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
  หมายเลขโทรศัพท์         0-3555-1001
  หมายเลขโทรสาร          0-3555-1001 ต่อ 102
             -
  ข้อมูลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา        
เมืองโบราณอู่ทอง ตั้งอยู่ในเขตอำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี    เป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ผังเมืองเป็นรูปวงรีทอดตัวตามแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้  มีขนาดความกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร  และยาวประมาณ 2 กิโลเมตร  มีระดับความสูงของพื้นที่ตัวเมือง จากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 6 เมตร
จากการศึกษาทางโบราณคดี  พบว่า  เมืองโบราณอู่ทองมีมนุษย์อยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อประมาณ  3,500  ปี  มาแล้ว  บริเวณที่พบชุมชนกระจายเกือบทุกตำบลในอำเภออู่ทอง  เช่น  ตำบลอู่ทอง       จรเข้สามพัน   เจดีย์  ดอนคา  ดอนมะเกลือ  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังพบสุลานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุด  ที่บ้านวังขอน  บ้านทุ่งน้อย   ตำบลจรเข้สามพันพบโครงกระดูกมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์     จำนวนมากในพื้นที่  100  ไร่  และได้พบหลักฐานประเภทขวานหิน   ลูกปัด  ภาชนะดินเผา  และเหล็กไนสำหรับปั่นด้าย      ขวานสำริด   ฉมอก  หอก  และเครื่องมือเครื่องใช้โลหะชนิดอื่น ๆ  อีกมากมาย  ชุมชนในสมัยนี้เป็นชุมชนในสังคมเกษตรกรรม  เนื่องจากสภาพที่ตั้งชุมชนเป็นเขตที่ราบขั้นบันได  และที่ราบรุ่มแม่น้ำ  ทำให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ผลดีจนชุมชนตั้งหลักแหล่ง  ได้อย่างถาวร  ประกอบกับสามารถติดต่อกับชายฝั่งทะเลสะดวก   และมีศักยภาพในฐานะชุมชนศูนย์กลางที่มีความสามารถในการดึงเอาผลประโยชน์ออกมา  ได้จากระบบการติดต่อค้าขาย  แลก    เปลี่ยนระหว่างชุมชนทั้งระยะใกล้และไกล  จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ชุมชนในบริเวณเมืองโบราณอู่ทองมีการพัฒนาการของสภาพสังคมและเศรษฐิกิจสูงจนขยายตัวเข้าสู่สังคมเมืองได้
เมืองโบราณอู่ทอง  ได้พัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  จากหลักฐานประเภทโบราณวัตถุ  ได้แก่  ลูกปัด  เหรียญเงิน  ตราประทับแผ่นดินเผา  รูปพระสงฆ์  3  องค์อุ้มบาตร   พระนาคปกที่แสดงการขัดสมาธิแบบ  ปรยัคาสน ซึ่งเป็นศิลปแบบอมราวดี   บงบอกถึงความเป็นศูนย์กลางความเจริญของอาณาจักรฟูนัน   ในราวศตวรรษที่  5-9  ซึ่งเชื่อว่าเมืองโบราณอู่ทองเป็น  อาณาจักรสุวรรณภูมิ “  ที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระโศณะเถระและพระอุตรเถระมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา
จากการดำเนินงานโบราณคดี  พบว่า  อิทธิพลทางวัฒนธรรมของอินเดีย  ได้ผสมผสานกับวัฒนธรรม    ท้องถิ่นเกิดรูปแบบทางศิลปกรรมอักษรภาษาและศาสนาพุทธ  ซึ่งเป็นศาสนาหลัก  เป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่รู้จักกันว่า  วัฒนธรรมทวาราวดี “  ศูนย์กลางความเจริญของสมัยทวาราวดีอยู่ที่เมืองโบราณอู่ทอง  ในบริเวณลุ่มน้ำจรเข้สามพัน  ตั้งอยู่บิเวณเนินดินด้านตะวันออกของเทือกเขาพระและเขาทำเทียมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกและทิศใต้   เป็นที่ลุ่มตัวเมือง  ได้รับน้ำหล่อเลี้ยงที่ไหลมาจากเทือกเขา  คือ  ลำห้วยลวก  ลำห้วยหางนาค  และลำน้ำจรเข้สามพัน  ซึ่งไหลมาทางทิศใต้  โดยเมืองโบราณมีฐานะเป็นเมืองหลวง  และมีเมืองลูกหลวง  คือ  ละโว้และนครชัยศรี  สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง  คือ  ลูกปัด  และเครื่องประดับที่ขุดพบที่เมืองโบราณอู่ทอง  สะท้อนถึงความมั่งคั่งของเมืองท่าชายฝั่งอื่น ๆ  เมืองโบราณอู่ทอง  ยังคงติดต่อกับพ่อค้าต่างจากอินเดีย  ตะวันออกกลางและโรมัน  ดังหลักฐานจีนที่กล่าวถึงเมืองหลินอี่ฟูนัน   ตุนชุน 
จินหลิน  ตันตัน  และพันพัน  ซึ่งเป็นเส้นทางเดียวกับที่นักเดินทางเรือและพ่อค้าใช้ติดต่อกับจีน
การขยายตัวทางการค้าของอินเดียซึ่งไม่สามารถซื้อหาทองคำได้จากแหล่งค้าเดิม  ได้แก่  ไซบีเรีย  โรมันทำให้อินเดียเพิ่มปริมาณการกับ สุวรรณภูมิ “  ใช้เรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่า  เรือโกรันเดีย  ขนถ่ายสินค้าความ
 ความเติบโตทางเศรษฐกิจช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็งของอำนาจรัฐมีหลักฐานหลายประการแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรทวาราวดีมีกษัตริย์  เช่น  เหรียญเงินที่มีจารึก  ศรีทวาราวดีศุวรปุณยะ “  ซึ่งแปลว่า  การบุญแห่งพระเจ้าศรีทวาราวดี  รวมทั้งโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องประกอบพิธีราชาภิเษกและจารึก  เป็นต้น   การพบจารึกแผ่นทองแดงที่เมืองโบราณ  สามารถยืนยันได้ว่าเมืองโบราณอู่ทองรับวิธีการเขียนอักษรของอินเดียมาปรับปรุงเป็นของตนเอง  ทำให้แปลกเปลี่ยนไปจากอักษรปัลลวะนักภาษาศาสตร์ต้องกำหนดให้เรียกว่า  “  อักษรหลังปัลลวะ 
ในราวพุทธศตวรรษที่  15-16  มีการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเล  ซึ่งส่งผลกระทบถึงการคมนาคม  และระบบ  สาธารณูปโภคของเมืองโบราณในสมัยทวาราวดีเป็นศูนย์กลางรัฐหรือเมืองหลวงของอู่ทองได้รับผลกระทบ  พบว่ามีการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางอำนาจรัฐไปที่บริเวณเมืองสุพรรณบุรี  ปัจจุบันปรากฏร่องรอยของเมืองโบราณที่มี  คูน้ำคันดินคร่อมแม่น้ำสุพรรณบุรี  ( แม่น้ำท่าจีน ) จากหลักฐานที่ได้ในงานโบราณคดี  พบว่าพุทธศตวรรษที่  17-18  เมืองโบราณบริเวณจึงหวัดสุพรรณบุรี   ได้เป็นเมืองหลวงที่สำคัญของบรรดาเมืองโบราณในซีกตะวันตกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา  และติดต่อค้าขายกับจีนอย่างใกล้ชิด  มีความสัมพันธ์กันในระดับราชวงศ์  รู้จักในชื่อ  เสียนหรือสยาม  แต่เอกสารฝ่ายไทยเรียกว่า  “  สุพรรณภูมิ 
รัฐสุพรรณภูมิ  เป็นรัฐที่รุ่งเรืองจากการค้า นอกเหนือจากการเป็นศูนย์กลางค้าขายนานาชนิดแล้ว  รัฐสุพรรณภูมิยังผลิตเครื่องปั้นดินเผาส่งออกเป็นแห่งแรกของประเทศในพุทธศตวรรษที่ 18  โดยแหล่งที่พบอยู่ไกลถึงสิงคโปร์  ญี่ปุ่น  และเกาหลลีเหนือ  และจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับราชสำนักจีน ราชวงศ์สุพรรณภูมิ  ได้ตราแต่งตั้งเป็น   อ๋อง  จากพระเจ้าจักรพรรดิของจีน   ซึ่งต่อมาได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา
รัฐสุพรรณภูมิ  และราชวงศ์อู่ทองแห่งละโว้  ได้ร่วมกันสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี  1893  ได้ย้ายฐานจากบริเวณแม่น้ำสุพรรณบุรี  สู่เกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา  ใช้ความรู้ความสามารถในคววาวมเป็นรัฐพานิชย์ที่มี
ประสิทธิภาพอันยาวนาน  นับแต่ปลายยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์สู่ยุคฟูนัน   ทวาราวดี   และสุพรรณภูมิ  ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นรัฐนานาชาติ  ศูนย์กลางการซื้อขายที่ใหญ่ที่สุดถึง  417  ปี   จากข้อมูลและหลักฐานที่แสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง   ทำให้เราทราบถึงรากเหง้าแห่งงความเป็นคนไทยชาติไทย   จากถิ่นกำเนิดที่เมืองโบราณอู่ทองและพัฒนาสู่สุวรรณภูมิ  (  สุพรรณบุรี  )   กรุงศรีอยุธยา  และปัจจุบันรัตนโกสินทร์  ได้บงบอกถึงความสูงส่งทางวัฒนธรรมชีวิต  ความรู้ความสามรถของบรรพบุรุษเป็นอย่างยิ่ง
สมัยรัชกาลที่  5  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการแผ่นดิน   แบ่งหัวเมืองต่างๆ   เป็นจังหวัด  อำเภอ   และตำบล   อำเภออู่ทอง   จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2448   ให้ชื่อว่า  อำเภอจรเข้สามพัน”   แบ่งการปกครองออกเป็น  10  ตำบล   ต่อมาทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอจรเข้สามพัน   อยู่ในเขตเมืองโบราณที่เรียกว่า   เมืองท้าวอู่ทอง”    เพื่อให้สอดคล้องกับประวัติศาสตร์จึงย้ายที่ว่าการอำเภอจากหมู่บ้านจรเข้สามพันมาตั้ง   ณ   บริเวณเมืองโบราณ   เมืองท้าว
อู่ทอง   และให้เปลี่ยนชื่ออำเภอจาก  อำเภอจรเข้สามพัน”  เป็น  อำเภอ
อู่ทอง”   เมื่อปี  พ.ศ.  2483   สืบมาจนถึงปัจจุบัน
คืออู่น้ำอู่ข้าวลำเนาถิ่น                    ครั้งแผ่นดินรุ่งเรืองเป็นเมืองใหญ่
เจ้าครองเมืองเนืองนามร่ำลือไกล        เป็นหลักไทยเชิดชูท้าวอู่ทอง
กำแพงรอบขอบเมืองยังมีเค้า              คูเมืองเก่าน้ำขังยังรอยร่อง
ถนนดินดินมูลยังพูนกอง                 อดีตปองปางหลังยังยินยล
จรเข้สามพัน”  ธารกระแส                      คราวแล้งแลตื้นเขินเกิดขุ่นข้น
โรค ห่า “  ระบาดสู่กินผู้คน              ต้องสับสนระส่ำย้ายทำเล
ท้าวอู่ทองนำไทยไปหนองโสน             สร้างเมืองใหม่ใหญ่โตน่าสนเท่ห์
ก่อ  ราชวงศ์อู่ทอง ครองพื้นเพ      นามเสน่ห์ อยุธยา “  ราชธานี
ทิ้ง อู่ทอง “  ถิ่นไทยไว้ประวัติ          ฝากพิพัฒน์แผ้วผ่องไทยน้องพี่
อดีตกาลผ่านผันตราบวันนี้                          ยังศักดิ์ศรีชี้เห็นความเป็นมา
อู่ทองใหม่ไทยพุทธรุดเร่งรัด                         ยุค ลูกปัดทวาราวดี มากมีค่า
โรคห่าแพ้แพทย์รัฐพัฒนา                 หากจะมีก็ผีห่าในป่าคน


       เนื้อที่/พื้นที่      641.063 ตร.กม.
      สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป         ร้อนชื้น

ที่ตั้งและอาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนเจดีย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า และอำเภอสองพี่น้อง
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพนมทวน อำเภอห้วยกระเจา และอำเภอเลาขวัญ (จังหวัดกาญจนบุรี)

 ข้อมูลการปกครอง         
1.ตำบล.......13.... แห่ง   3.เทศบาล..4.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....154.... แห่ง 4.อบต........11 ... แห่ง

  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ     
1.อาชีพหลัก ได้แก่          เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์

2.อาชีพเสริม ได้แก่         หัตถกรรมในครัวเรือน

***********************************************************************************************************************
อู่ทอง









วันเดียวเที่ยวอู่ทอง..สุพรรณบุรี
เมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี เมืองต้นกำเนิดประวัติศาสตร์อารยธรรมสุวรรณภูมิ และมีหลักฐานทางโบราณคดีว่า เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวาราวดี เป็นอีกเมืองที่ผมได้มาเทียวแล้วรู้สึกว่าเป็นเมืองที่มีความสงบ แต่สถานที่ท่องเที่ยวมีให้เที่ยวหลากหลายทั้งแนวประวัติศาสตร์ แนวธรรมชาติ และด้วยภูมิประเทศที่มีภูเขาและเนินสูงเยอะ วัดหลายวัดจึงตั้งอยู่บนเนินเขา มีรอยพระพุทธบาทจำลองให้เราได้สักการะ แถมยังได้ชมวิวสวยๆของเมืองอู่ทองอีกด้วย ส่วนใครที่ชอบเที่ยวแนวธรรมชาติ ที่นี่มีสวนหินธรรมชาติให้เดินเที่ยว สูดอากาศบริสุทธิ์กัน ทริปนี้ อดิไปไหนมาบ้างตามมากันเลยครับ

-วัดเขาดีสลัก
-วัดเขาทำเทียม
-วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม

-สวนหินธรรมชาติพุหางนาค
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น