อำเภอ สามชุก

อำเภอ สามชุก


คำขวัญอำเภอ    หลวงพ่อมุ่ยลือนาม หลวงพ่อดำศักดิ์สิทธิ์ ท่าจีนคือชีวิต แหล่งผลิตเกษตรกรรม วัฒนธรรมร่วมใจ ธารน้ำใสบึงระหาร
  ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ        ม.2 ต.สามชุก อำเภอสามชุก จังหวัด สุพรรณบุรี
  หมายเลขโทรศัพท์         0-3557-1188,0-3554-4177
  หมายเลขโทรสาร          0-3557-1188
  เว็บไซต์อำเภอ   www.amphoe.com

  ข้อมูลทั่วไป


  ประวัติความเป็นมา     
ในหนังสือนิราศสุพรรณของสุนทรภู่ นิทานย่านสุพรรณ และบันทึกคนรุ่นเก่ากล่าวไว้ว่า สามชุกในอดีตเป็นแหล่งรวมของการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยชาวกะเหรี่ยง ชาวลาว และชาวละว้าจะนำเกวียนบรรทุกของป่ามาขายแลกกับสินค้าที่ชาวเรือนำมาจากทางใต้ที่บริเวณท่าน้ำ เป็นตลาดมีเรือมาจอดมากมายเพื่อรับส่งข้าวจากโรงสีต่าง ๆ สินค้าที่ชาวบ้านนำมานั้นบรรจุอยู่ใน "กระชุก" ซึ่งทำจากลำไม้ไผ่ จึงเป็นที่มาหนึ่งของชื่อ "สามชุก" ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่เรียกขานพื้นที่นี้คือ "สามเพ็ง" ซึ่งเพี้ยนมาจาก "สามแพร่ง" เนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพ่อค้าที่เดินทางมาจากทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก
นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบางท่าน กล่าวว่า ในอดีตมีการรวมตัวของชุมชนที่บริเวณท่ายาง กับสามชุก ก่อนจะขยับขยายมาที่สามเพ็งหรือสำเพ็ง(บริเวณตลาดสามชุกในปัจจุบัน) ส่วนชื่อของสามชุกนั้นประการหนึ่งสันนิษฐานว่า ลากเสียงมาจากคำว่า "สำชุก" ซึ่ง "ส่ำ" หรือ "สำ" เป็นภาษาแต่โบราณ ใช้เรียก สถานที่ พวก หมู่ เหล่า อยู่รวมกัน ส่วน "ชุก" นั้นก็คือจำนวนมาก ดังนั้น "สำชุก" หรือ "สามชุก" จึงหมายถึง ชุมชน หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ด้วยเป็นดินแดนท่า ปากป่า ลำน้ำ ที่สำคัญมาแต่โบราณ โดยอาจจะมากด้วยกลุ่มชน ตระกูล บ้าน หรือใดๆ ที่ชุก กระจุกตัวอยู่บริเวณนี้ ซึ่งมีข้อสังเกตอย่างเดียวกับการเรียกชื่อหมู่บ้านตามลักษณะของชุมชนหรือภูมิประเทศอันขึ้นต้นด้วยคำว่า ทับ ตรอก ชุม ค่าย ท่า หนอง ดอน บาง เป็นต้น นอกจากนี้ยังปรากฏชื่อหมู่บ้านในท้องถิ่นสุพรรณบุรีเรียกว่า "สาม , สำ" เช่นเดียวกัน อาทิ สามจุ่น สามนาก สามทอง สามเอก สามหน่อ สามขนอน(สำขนอน) สำปะร้า สำปะซิว(สำปะทิว) สำเพ็ง(สามเพ็ง)
เมื่อปี พ.ศ. 2437 ทางราชการได้ตั้งอำเภอมีชื่อว่า อำเภอนางบวช และบ้านสามชุก มีสถานะเป็นตำบลๆหนึ่งขึ้นอยู่กับอำเภอนางบวช ครั้นถึงปี พ.ศ. 2454 ได้มีการเสนอขอจัดตั้งอำเภอขึ้นอีกแห่งหนึ่งแยกจากอำเภอนางบวช ในบริเวณหมู่บ้านเขาพระ โดยใช้ชื่อว่า อำเภอเดิมบาง จึงทำให้ต้องย้ายที่ว่าการอำเภอนางบวชซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ของอำเภอที่ตั้งขึ้นใหม่(อำเภอเดิมบาง)ลงมาอยู่บริเวณหมู่บ้านสามเพ็ง ในพื้นที่ตำบลสามชุก กระทั่งปี พ.ศ. 2457 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากอำเภอนางบวชเป็น อำเภอสามชุก เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนกับอดีต และให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่
      อ.สามชุก ตามหลักฐานเดิมมีชื่อว่า "อำเภอนางบวช" สมัยนั้นใช้บ้านพักนายอำเภอเป็นสถานที่ราชการ ครั้นถึง ปี พ.ศ.2454ได้มีการเสนอขอจัดตั้งอำเภอทางฝ่ายเหนือของจังหวัดสุพรรณบุรีในบริเวณหมู่บ้านเขาพระ ตั้งชื่อว่า "อำเภอเดิมบาง" และได้ย้ายที่ว่าการอำเภอนางบวชมาอยู่บริเวณหมู่บ้านสามเพ็ง ต.สามชุก ซึ่งบริเวณนี้แต่เดิมเป็นป่า มีท่าเรือสำหรับชาวป่านำเกวียนบรรทุกสินค้า ของป่า มาขายแลกเปลี่ยนกับพ่อค้าชาวเรือ และชาวเรือที่นำสินค้ามาจากทางทิศเหนือและทิศใต้ จอดขนถ่ายสินค้าแลกเปลี่ยนซื้อขายกัน นับว่าบริเวณดังกล่าวนี้ เป็นแหล่งย่านการค้าสำคัญ
       มีการเปลี่ยนชื่อ "อำเภอเดิมบาง" เป็น "อำเภอสามชุก"เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบลที่อำเภอตั้งอยู่ในปี พ.ศ.2526 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศแบ่งแยกอาณาเขตอำเภอสามชุกบางส่วนตั้งเป็น "กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ"  ปัจจุบันคือ "อำเภอหนองหญ้าไซ"

     เนื้อที่/พื้นที่    362 ตร.กม.
    สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป        มรสุมเขตร้อน

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอสามชุกมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเดิมบางนางบวช
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเดิมบางนางบวชและอำเภอศรีประจันต์
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศรีประจันต์และอำเภอดอนเจดีย์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าไซ

 ข้อมูลการปกครอง         
1.ตำบล.......7.... แห่ง     3.เทศบาล..1.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....68.... แห่ง   4.อบต........6 ... แห่ง

  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ     
1.อาชีพหลัก ได้แก่          ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์

2.อาชีพเสริม ได้แก่         ร้อยมาลัย จักสาน


***************************************************************************************************************************


สามชุกในอดีต

ตลาดร้อยปีสามชุก ตั้งอยู่บนบริเวณตำบลสามชุก แต่เดิมก่อนเป็นอำเภอสามชุกในปัจจุบันนั้น แต่เดิมบริเวณที่ตั้งอำเภอสามชุกเรียกว่า"ท่ายาง"มีชาวบ้านนำของป่าจากทิศตะวันตกมาค้าขายให้กับพ่อค้าที่เป็นชาวเรือ บ้างก็มาจากทางเหนือ บ้างก็มาจากทางใต้ เป็น 3 สาย จึงเรียกบริเวณที่ค้าขายนี้ว่า" สามแพร่ง " ต่อมาได้เพี้ยน เป็น สามเพ็ง และสำเพ็งในที่สุด ดังปรากฎหลักฐานกล่าวไว้ในนิทานพื้นบ้านย่านสุพรรณ มีเรื่องกล่าวต่อไปว่า ในระหว่างที่คนมารอขายสินค้าก็ได้ตัดไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของขาย เรียกว่า"กระชุก" ชาวบ้านจึงเรียกว่า "สามชุก" มาถึงปัจจุบัน ตามนิราศสุพรรณบุรีที่ประพันธ์โดยสุนทรภู่ มหากวีแห่งยุครัตนโกสินทร์เมื่อครั้งเดินทางมาจังหวัดสุพรรณบุรียังมีการค้นพบแหล่งอารยะธรรมเก่าแก่มาแต่โบราณจากการขุดพบเทวรูปยืน เนื้อหินสีเขียวขนาดใหญ่องค์หนึ่ง ใน พ.ศ. 2522 ที่บ้านเนินพระ ต.บ้านสระ อ.สามชุก ทำให้นักโบราณคดีเริ่มขุดค้น และเชื่อว่า ณ ที่นี้เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยขอมแห่งหนึ่ง ที่มีความสำคัญ โบราณสถานแห่งนี้ตั้งอยู่ใน อาณาจักรทวารวดีระหว่าง พ.ศ.ที่ 16-18จากการขุดพบ ได้พบลายปูนปั้นเป็นจำนวนมาก เช่น เศียรเทวดา พระพิมพ์เนื้อชิน นางอัปสร พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ลายเทพพนม เศียรอสูรขนาดใหญ่ รูปสัตว์ที่ประดับศาสนสถาน ปัจจุบันได้เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2437ได้ยกฐานะเป็นอำเภอนางบวช โดยมีที่ตั้งอำเภออยู่บริเวณตำบลนางบวช(อำเภอเดิมบางนางบวชในปัจจุบัน) ต่อมาในปี พ.ศ.2454เมื่อการยกฐานะของอำเภอทางเหนือของจังหวัดด้วยการตั้งอำเภอเดิมบางขึ้น หลวงปราบประจันต์ราษฎร์ (ใหม่ บุษยะบุตร) ดำรงตำแหน่งนายอำเภอนางบวชขณะนั้น จึงย้ายที่ทำการอำเภอมาตั้งอยู่ในย่านของหมู่บ้านสามเพ็ง ซึ่งศูนย์กลางของหมู่บ้านคาดการณ์ว่าเป็นพื้นที่บริเวณวัดสามชุก และบริเวณตำแหน่งที่ตั้งที่ทำการนั้นเป็นพื้นที่สามแพร่งที่มีความคึกคักของ การค้าขายระหว่างกลุ่มคนในพื้นที่ ทั้งชาวไทย จีน รวมถึงกะเหรี่ยงป่าที่เข้ามาขายสินค้า และโดยสำคัญพื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณที่ติดกับริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน หรือที่เรียกว่าแม่น้ำสุพรรณบุรี ทำให้ยกระดับจากการเป็นเพียงท่าเรือส่งสินค้า เกิดการก่อตัวเป็นพื้นที่ตลาด จนกระทั่งในปี พ.ศ.2457จึงเปลี่ยนชื่อจากอำเภอนางบวชเป็นอำเภอสามชุกให้สอดคล้องกับชื่อตำบลสามชุก บ้านสามเพ็งหรือตลาดสามเพ็งที่เคยเรียกขานก็เลือนหายและเรียกขานว่า ตลาดสามชุกสืบมาจนปัจจุบัน อำเภอสามชุกเดิมมีพื้นที่774.9 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี2528ได้มีการตั้งอำเภอหนองหญ้าไซ จึงแบ่งบางส่วนออกไป ยังคงเหลือเพียง362ตารางกิโลเมตร



******************************************************

ต่อ วัตถุโบราณ

สถานที่ท่องเที่ยว ที่น่าแวะมากที่สุดแห่งหนึ่งใน อ.สามชุก สุพรรณบุรี
อยู่ติด ถนน 340 มาง่าย ก่อนถึงตลาด 100 ปี 2 กิโลเมตร































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น