อำเภอ บางปลาม้า

อำเภอ บางปลาม้า



  คำขวัญอำเภอ  -
  ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ        ม.5 ในเขตเทศบาลตำบลโคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี
  หมายเลขโทรศัพท์         035-587380
  หมายเลขโทรสาร          035-587380 ต่อ 102

  ข้อมูลทั่วไป
  ประวัติความเป็นมา            ตั้งเมื่อ พ.ศ.2440  กำหนดเขต อ.บางปลาม้าตรงกับสมัยพระสมุทรคณานุรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนใต้ มี
"ปลาม้า" ชุกชุม ที่ว่าการอำเภอหลังแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางปลาม้า
ในปี 2442 เกิดเพลิงไหม้จึงได้ย้ายมาสร้างที่ปัจจุบัน
       เนื้อที่/พื้นที่  482.954 ตร.กม.

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอบางปลาม้ามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอผักไห่และอำเภอบางซ้าย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออู่ทอง3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป         แบบมรสุม มี 3 ฤดู

 ข้อมูลการปกครอง  
1.ตำบล.......14.... แห่ง   3.เทศบาล..4.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....127.... แห่ง 4.อบต........14 ... แห่ง

  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่          ทำนา เลี้ยงกุ้ง/ปลา
ปลูกพืชผัก ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ
เลี้ยงสัตว์
2.อาชีพเสริม ได้แก่         กลุ่มอาชีพศิลปหัตถกรรม
กลุ่มอาชีพผลิตอาหาร ของใช้

ด้านสังคม          
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่     โรงเรียนบางปลาม้า "สูงสุมารผดุงวิทย์" โทร.035-587340
โรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 โทร.035-416111
โรงเรียนบางแม่หม้ายรัฐราษฏร์รังสฤษดิ์ โทร.035-424356
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่      - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสุพรรณบุรี ม.10 ต.โคกคราม

 ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ           
อุทยานมัจฉา วัดป่าพฤกษ์ ม.4 ต.บ้านแหลม
อุทยานมัจฉา วัดเจ้าขาว ม.4 ต.ตะค่า
อุทยานมัจฉา วัดสาลี ม.2 ต.สาลี
อุทยานมัจฉา วัดช่องลม ม.5 ต.ไผ่กองดิน



**********************************************************************************************************************************

แนะนำที่เที่ยวสำหรับคนชอบเที่ยว


เก้าห้องชื่อนี้มีตำนาน 

ตลาดเก้าห้อง เป็นตลาดห้องแถวเก่าแก่ ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำท่าจีน อายุประมาณ 100 ปี สร้างประมาณต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลบางปลาม้า หมู่ที่ 2 ตำบลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จากเอกสารที่มีผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติตลาดเก้าห้อง และจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ คำว่า ตลาดเก้าห้องน่าจะนำมาจากชื่อของบ้านเก้าห้อง ซึ่งเป็นบ้านโบราณมีประวัติสืบทอดมายาวนานตลาดเก้าห้องเล่ากันว่าสร้างขึ้นโดยชาวจีนคนหนึ่งชื่อ นายฮงอพยพมาจากกรุงเทพฯ มาทำมาค้าขายอยู่บริเวณละแวกบ้านเก้าห้อง กิจการค้ารุ่งเรืองดี ในราว พ.ศ. 2424 ได้แต่งงานกับ นางแพซึ่งเป็นหลานสาวของขุนกำแหงฤทธิ์แห่งบ้านเก้าห้อง และได้ประกอบอาชีพค้าขายที่แพ ซึ่งสร้างขึ้นไว้ 1 หลัง จอดอยู่ริมน้ำหน้าบ้านเก้าห้อง ซึ่งในสมัยก่อนเป็นย่านค้าขายที่มีเรือนแพขายของสองฝั่งแม่น้ำ นายฮง หรือที่ชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า เจ๊ก-รอดทำการค้าขายสินค้าทุกประเภทโดยเฉพาะเครื่องบวช เครื่องมืออุปกรณ์ทำนา และเครื่องอุปโภคบริโภคทั้ง
หลายจนร่ำรวย และรู้จักกันในนามต่อมาว่า นายบุญรอด เหลียงพานิช
ในปี พ.ศ. 2467 โจรได้ปล้นแพของนายบุญรอด และได้ทำการประทุษร้ายนางแพจนถึงแก่กรรม หลังจากนั้นไม่นานนายบุญรอดได้สมรสกับ นางส้มจีน นายบุญรอดเริ่มวางแผนผังและสร้างตลาดบริเวณฝั่งตรงข้ามบ้านเก้าห้อง โดยโยกย้ายแพทั้งหลายขึ้นไปค้าขายบนบกคือในตลาด เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้าขายทางน้ำในบริเวณนั้น และเปิดการค้าทางบกมากขึ้นและนำชื่อบ้านเก้าห้องมาเป็นชื่อตลาด คือ ตลาดเก้าห้อง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 นายบุญรอดได้สร้างป้อม ซึ่งกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 4 เมตร มี 5 ชั้น ชั้นบนสุดเป็นดาดฟ้า แต่ละชั้น บริเวณฝาผนังของทุกด้านมีรูกลมโต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว โดยมีพระยารามราชภักดี เจ้าเมืองสุพรรณบุรีในสมัยนั้นมาเป็นผู้ทำพิธีเปิด เหตุที่สร้างป้อมขึ้นมาเพราะในระยะนั้นพวกโจรหรือที่เรียกว่า เสือหลายคนออกปล้นฆ่าตามริมน้ำท่าจีนเสมอ จึงได้สร้างป้อมไว้สังเกตการณ์และมีการเตรียมการป้องกันการปล้นสะดมของเสือทั้งหลายด้วย ถ้าเสือมาคนจะขึ้นไปประจำอยู่ในป้อมตามชั้นต่างๆ เอาปืนส่องยิงตามรูทั้ง 4 ด้านของป้อม เพื่อต่อสู่กับเสือที่มาปล้น และจากคำบอกเล่าของยายของผู้เขียนเอง เล่าว่าในสมัยสงครามโลก เวลากลางคืนจะมียามขึ้นไปคอยสังเกตการณ์บนป้อม ถ้ามีเครื่องบินบินมาก็จะส่งสัญญาณให้คนในตลาดหรี่หรือดับตะเกียงเพื่อไม่ให้เครื่องบินมองเห็นไป จะได้ไม่ทิ้งระเบิดลงมา

ในอดีตตลาดเก้าห้องนอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าขายแล้วยังเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ ผู้คนจากพื้นที่ใกล้เคียงที่จะเดินทางหรือไปทำการค้าขายในตัวเมืองสุพรรณบุรี และกรุงเทพฯ จะต้องมาลงเรือโดยสารที่ตลาดเก้าห้อง เพราะสมัยก่อนหนทางยังไม่เจริญ จึงต้องใช้การคมนาคมทางน้ำ
เป็นหลัก ในสมัยเมื่อผู้เขียนเป็นเด็กยังเคยเห็นคนขี่ม้าเข้ามาในตลาดเก้าห้อง เพื่อมาลงเรือโดยสารเข้ากรุงเทพฯ

สภาพในอดีตของตลาดเก้าห้องที่เป็นศูนย์กลางการค้าขายและศูนย์กลางการคมนาคมทางน้ำนับวันแต่จะหายไป เนื่องจากการคมนาคมเจริญมากขึ้น ถนนเข้ามาแทนที่แม่น้ำ ตลาดเก้าห้องก็ยังเป็นชุมชนริมน้ำที่ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย พึ่งพาอาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ยังรักษาเอกลักษณ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีไว้ แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านไปแต่ตลาดเก้าห้องยังคงยืนหยัดตระหง่านอยู่คู่แม่น้ำท่าจีนสืบไป.



***********************************************************************************

บางแม่หม้ายโฮมสเตย์ อำเภอบางปลาม้า
ย้อนอดีตบ้านทรงไทย กับวิถีชีวิตริมคลองและท้องทุ่งเมืองสุพรรณ หมู่บ้านบางแม่หม้ายเป็นชุมชนเก่าแก่อายุนับร้อยปี อยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มทางตอนใต้ของเมืองสุพรรณ ในเขตอำเภอบางปลาม้า กลุ่มบ้านทรงไทยโบราณกว่า 100 หลัง ล้อมรอบด้วยธรรมชาติและบรรยากาศของชนบท ท้องทุ่ง และคลองบางแม่หม้าย เป็นสถานที่ที่ยังคงรูปแบบและวิถีชีวิตดั่งเดิมของอดีต ที่น่าชมและ น่าสัมผัสกับความเป็นอยู่ของคนในชนบท บ้านบางแม่หม้าย อาจจะไม่เป็นสถานที่ที่คุ้นหูของนักท่องเที่ยว แต่เป็นที่ที่น่าสนใจ สำหรับนักเดินทางที่ต้องการย้อนอดีตเข้าไปอยู่ในภาพชนบทเมืองสุพรรณเมื่อกว่า 100 ปี
โฮมสเตย์เรือนไทย สไตล์...บางแม่หม้าย
ภาพวิถีชีวิตริมคลอง ที่รายล้อมด้วยท้องทุ่งนาและทิวต้นตาลยาวสุดลูกหูลูกตา และกิจกรรม นั่งเรือชมวิถีชีวิตริมคลองบางแม่หม้าย นั่งรถอีแต๋นชมท้องทุ่ง ถีบจักรยานชมบรรยากาศของชมชนและบ้านทรงไทยโบราณ หรือสบายๆริมชานเรือนกับหนังสือดีๆสักเล่ม ความสุขที่อยู่ใกล้แค่เอื้อม
ไม้กวาดร้อยปี ของดีบางแม่หม้าย
เป็นไม้กวาดที่ทำจากใยมะพร้าว ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีที่นี่ที่เดียว ทำจากใยของกากมะพร้าวที่ให้ความแข็งแรง มีอายุการใช้งานยาวนานนับ 10 ปี มีวิธีการทำหลายขั้นตอน ตั้งแต่การนำกาบมะพร้าวมาแช่น้ำ 15-30 วัน จนเปื่อยยุ่ย จึงค่อยนำมาทุบให้เหลือแต่เพียงเส้นใย ตากแดดให้แห้งจึงจะนำมามัดติดกับด้ามที่ทำจากไม้หนามแดง หรือ ไม้หนามก้างปลา ที่มีลวดลายสวยงาม















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น