อำเภอ ดอนเจดีย์

อำเภอ ดอนเจดีย์




คำขวัญอำเภอ    ดอนเจดีย์ แดนยุทธหัตถี อนุสาวรีย์วีรกรรม สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ        ม.5 ต.ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัด สุพรรณบุรี
  หมายเลขโทรศัพท์         0-3559-1055
  หมายเลขโทรสาร          0-3559-1055
  ข้อมูลทั่วไป
  ประวัติความเป็นมา        เดิมดอนเจดีย์เป็นเพียงชื่อตำบลหนึ่งซึ่งขึ้นการปกครองอยู่กับ อ.ศรีประจันต์
ห่างจากที่ว่าการ อ.ศรีประจันต์ ข้ามฝั่งแม่น้ำสุพรรณบุรี (ท่าจีน) 16 กม.  เมื่อ
องค์พระสถูปเจดีย์ได้รับการบูรณะชุมชนตำบลดอนเจดีย์ก็เติบโตจนปี 2505
ได้ยกฐานะเป็น กิ่ง อ.ดอนเจดีย์เมื่อปี 2508

    เนื้อที่/พื้นที่    252.081 ตร.กม.
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป           มี 3 ฤดู คือน ร้อน ฝน หนาว

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอดอนเจดีย์มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองหญ้าไซและอำเภอสามชุก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีประจันต์
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรีและอำเภออู่ทอง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออู่ทอง และอำเภอเลาขวัญ (จังหวัดกาญจนบุรี)

 ข้อมูลการปกครอง
         
1.ตำบล.......5.... แห่ง              3.เทศบาล..2.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....50.... แห่ง            4.อบต........5 ... แห่ง

  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
         
1.อาชีพหลัก ได้แก่         ทำนา ทำไร่อ้อย ทำการประมง (เลี้ยงกุ้ง)
2.อาชีพเสริม ได้แก่        กลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มจักสาน กลุ่มทอผ้า

************************************************************************************************************************

อนุสรณ์ดอนเจดีย์






อนุสรณ์ดอนเจดีย์
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
            ประกอบ ด้วยพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2134 ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ ทั้งภาพแสงสีเสียง  และหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ ปัจจุบัน ได้เสด็จทรงประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์  กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่  โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร  ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร  ครอบเจดีย์องค์เดิม
ประวัติความเป็นมา
            สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับยกย่องให้เป็นพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสนพระทัยในหนังสือเก่า ที่กล่าวถึงสถานที่ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างพระเจดีย์ยุทธหัตถีไว้ หลังทรงทำยุทธหัตถี ชนช้างชนะพระมหาอุปราชา ฟันมหาอุปราชาสิ้นชีพบนคอช้าง สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสให้ก่อพระเจดีย์สถานสวมศพพระมหาอุปราชาไว้ ณ ต.ตะพังกกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงรับสั่งให้พระยากาญจนบุรี(นุช) ออกสืบหาพระเจดีย์ยุทธหัตถี ที่สมเด็จพระนเรศวรทรงสร้างไว้ ให้สืบหาดูว่ามีพระเจดีย์โบราณที่ขนาดหรือรูปทรงสัณฐานสมกับเป็นของพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างไว้  เจดีย์ยุทธหัตถี ดอนเจดีย์สุพรรณบุรี พระยากาญจนบุรีออกตรวจและรายงานว่าบ้านตระพังกรุมีมาแต่โบราณเป็นที่ดอน ต้องอาศัยใช้บ่อน้ำ มีบ่อกรุอิฐข้างในมีน้ำ ซึ่งคำดบราณเรียกว่า ตระพังกรุอยู่หลายบ่อ ถามชาวบ้าว ผู้เฒ่าผู้แก่แถวนั้นก็ไม่มีใครทราบ พระยากาญจนบุรีจึงออกสำรวจต่อเอง ก็พบเพียงแต่พระเจดีย์องค์เล็กๆ ไม่น่าจะเป็นลักษณะที่พระเจ้าแผ่นดินสร้าง จึงแจ้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่าไม่พบต่อมาพระยาสุพรรณฯ(พระยาสุนทรบุรีฯ สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี ) เข้ามากรุงเทพฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงเล่าเรื่องพระเจดีย์ยุทธหัตถีและให้ออกสืบหาพระ เจดีย์ที่ต.หนองสาหร่าย ในแขวงเมืองสุพรรณฯ เมื่อออกสืบไม่ถึงเดือนจึงรายงานกลับมายังกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า ในต.หนองสาหร่าย ทางทิศตะวันตก เมืองสุพรรณฯ ชาวบ้านบอกว่ามีพระเจดีย์โบราณ อยู่ในป่าที่เรียกกันว่า ดอนพระเจดีย์เมื่อพระยาสุรรณฯ โดยการนำทางของชาวบ้านไปถึงที่พระเจดีย์โบราณ เมื่อไปถึงยังมองไม่เห็นพระเจดีย์ว่าอยู่ที่ไหนเนื่องจากมีต้นไม้ปกคลุมมิด ทั้งองค์ ชาวบ้านจึงถางต้นไม้เข้าไปจึงมองเห็นอิฐที่ก่อฐาน พระยาสุพรรณฯจึงระดมคน ช่วยกันตัดต้นไม้ที่ปกคลุมออกหมด แล้วใช้ช่างฉายรูปพระเจดีย์ ส่งไปยังกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งลักษณะเป็นพระเจดีย์มีฐานทักษิณเป็น๔เหลี่ยม ๓ชั้น ขนาดฐานทักษิณชั้นล่างกว้างยาว๘ วา แต่องค์พระเจดีย์เหนือ ฐานทักษิณชั้นที่๓ ขึ้นหักพังเสียรูปแล้ว กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงนำเรื่องกราบบังคมทูลพระบาทการค้นพบนี้แด่ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระปีติโสมนัส ตรัสว่า พระเจดีย์ยุทธหัตถีเป็นอนุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติของเมืองไทย พระองค์ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จไปสักการบูชาเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖โปรดให้กรมศิลปากรออกแบบ แต่เนื่องจากติดขัดเรื่องงบประมาณ การบูรณะจึงหยุดชะงักไป ๑๐ พ.ย. ๒๔๙๓ จอมพลผิณ ชุณหวัญ ริเริ่มโครงการอนุสรณ์ดอนเจดีย์อีกครั้ง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้ระลึกถึงบรรพชนที่ได้เสียสละเลือดเนื้อ เพื่อชาติ บ้านเมือง โดยมอบให้อธิบดีกรมการศาสนาทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเจดีย์ยุทธหัตถี

             ๒๑ ธ.ค. ๒๔๙๓ คณะกรรมการอบรมข้าราชการและประชาชนมีมติเห็นสมควรบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์และ นำเสนอคณะรัฐมนตรี ปั้นหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งของพระองค์จริง โดยให้ดำเนินการร่วมกับนายช่างกรมศิลปากรและได้รับเงินจากการบริจาคของ ประชาชน

             ๒๓ ม.ค. ๒๔๙๕ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบบูรณะอนุสรณ์ดอนเจดีย์ กระทรวงวัฒนธรรมเสนองบประมาณให้ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และอนุสาวรีย์๒.๕ล้านบาท สภากลาโหมจัดสรรงบประมาณให้ ส่วนที่เหลือคณะกรรมการขอมติคณะรัฐมนตรีเพื่อทำการเรี่ยไรจากประชาชน

             ๒๕ มี.ค. ๒๕๙๕ คณะกรรมการบูรณะอนุสรณ์ ดอนเจดีย์ เห็นชอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ กรมศิลปากรได้มอบหมายให้ศาสตร์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ เป็นรูสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึก ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๐๑

             ๖ พ.ค. ๒๔๙๖ คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้คณะกรรมการบูรณะ อนุสาวรีย์ ดอนเจดีย์ และเห็นชอบกับรูปแบบเจดีย์ที่คณะกรรมการพิจารณารูปแบบเจดีย์นำเสนอ คือ รูปแบบเจดีย์แบบลังกา ตามแบบเจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา ขนาดฐาน๓๖ เมตร สูงจากพื้นถึงยอด๖๖เมตร โดยมีมติให้กรมศิลปากร ดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๖ ส.ค. ๒๔๙๗

              ๒๕ ม.ค. ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันและสมเด็จพระนางเจ้าฯ บรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปดำเนินการบวงสรวง และ เปิดพระบรมรูปอนุสาววรีย์ ณ อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น