อำเภอ เมืองสุพรรณบุรี

อำเภอเมืองสุพรรณบุรี



คำขวัญจังหวัด   เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลื่องลือพระเครื่อง รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงส้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง

คำขวัญอำเภอ  หลวงพ่อโตคู่บ้าน แหล่งตำนานขุนช้างขุนแผน ดินแดนพระผงสุพรรณ โบราณสถานวัดสนามชัย ไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ลือเลื่องปลาสลิดดอนกำยาน หอคอยบรรหารงามสง่า วังมัจฉาวัดพระนอน มังกรสวรรค์ เมืองสุพรรณบุรี

  ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ        ถ.พระพันวษา ต.ท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัด สุพรรณบุรี
  หมายเลขโทรศัพท์         035-525882 - 4 ต่อ 101
  หมายเลขโทรสาร          035-525882 - 4 ต่อ 105,106

ข้อมูลทั่วไป
  ประวัติความเป็นมา      อำเภอเมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งในอดีตจะเห็นได้จากซากกำแพงเมืองที่ยังเหลืออยู่ เดิมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำท่าจีนในเขตตำบลรั้วใหญ่เรียกชื่อเดิมว่า " ศาลแขวงท่าพี่เลี้ยง" ต่อมาย้ายไปตั้งตำบล       ท่าพี่เลี้ยงทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำท่าจีนบริเวณวัดเจดีย์ยอดเหล็ก (ที่ตั้งธนาคารกรุงเทพจำกัดในปัจจุบัน) เรียกชื่อว่า "อำเภอท่าพี่เลี้ยง" ตามชื่อเรียกของตำบล "ท่าพี่เลี้ยง" มีความหมายตามคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เล่าต่อกันมาตามตำนานเรื่องขุนช้างขุนแผนว่า  ตำบลท่าพี่เลี้ยงนี้เดิมเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของนางสายทองผู้เป็นพี่เลี้ยงของนางพิมพิลาไลย ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงท่าน้ำหน้าที่ว่าการอำเภอ  ประชาชนจึงพากันเรียกว่า "บ้านท่าพี่เลี้ยง" หรืออีกนัยหนึ่งมีผู้สันนิษฐานว่าการเรียกคำว่า ท่าพี่เลี้ยงสืบเนื่องมาจาก เหตุที่เมืองสุพรรณบุรีเป็นเมืองสะสมเสบียงอาหารส่งไปกรุงศรีอยุธยาในระหว่างทำสงครามกับพม่าในสมัยนั้น ตำบลท่าพี่เลี้ยงเป็นที่ตั้งยุ้งฉางข้าว โดยปลูกสร้างยุ้งข้าวไว้เป็นแถวติดต่อไปตั้งแต่วัดสุวรรณภูมิถึงบริเวณตลาดใหม่ของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบัน) และต้องมีข้าวสำรองเป็นประจำในยุ้งข้าวนั้นทุก ๆ ปี เสมือนหนึ่งเป็นเมืองพี่เลี้ยง ประชาชนจึงเรียกขานว่า "บ้านท่าพี่เลี้ยง" เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐  ทางราชการได้สั่งให้อำเภอที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอเมืองทั้งหมด ดังนั้นอำเภอท่าพี่เลี้ยงจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอเมืองสุพรรณบุรี" ตั้งแต่นั้นมาและใน พ.ศ. ๒๕๑๖ นายอำเภอบรรจง  ฤกษ์สำราญ (นายอำเภอสมัยนั้น) ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองสุพรรณบุรีบริเวณเจดีย์ยอดเหล็กซึ่งคับแคบมาก่อสร้างบริเวณระหว่างศาลแขวงจังหวัดสุพรรณบุรีและโรงเรียนสงวนหญิง (องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน)  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ย้ายที่ว่าการมาอยู่บริเวณศาลากลางเก่า ถนนพระพันวษา (เนื่องจากศาลากลางได้ย้าย ที่ทำการไปอยู่ศูนย์ราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ตำบลสนามชัย ถนนชัยนาท-บางบัวทอง)
            เนื้อที่/พื้นที่      540.917 ตร.กม.
      สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป     เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกชุกในฤดูฝน

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเมืองสุพรรณบุรีมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอดอนเจดีย์และอำเภอศรีประจันต์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวิเศษชัยชาญ (จังหวัดอ่างทอง) และอำเภอผักไห่ (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางปลาม้า
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออู่ทอง
 ข้อมูลการปกครอง
1.ตำบล.......20.... แห่ง           3.เทศบาล..7.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....124.... แห่ง         4.อบต........14 ... แห่ง

  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
1.อาชีพหลัก ได้แก่         ทำนา ประมง เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ทำสวน
2.อาชีพเสริม ได้แก่        รับจ้างทั่วไป
3.จำนวนธนาคาร มี 12 แห่ง 
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า  มี 5 แห่ง

  ด้านสังคม       
โรงเรียนมัธยม ได้แก่
1.โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย  
2.โรงเรียนสงวนหญิง  
3.โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย 
4.โรงเรียนตลิ่งชันวิทยา.
5. โรงเรียนสวนแตงวิทยา

มหาวิทยาลัย ได้แก่    
1.สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรีร.
2.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ศูนย์สุพรรณบุรี.
3.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี 
4.วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี 


*************************************************************


เที่ยว อำเภอเมือง



ศาลเจ้าพ่อหลักมือง / หมู่บ้านมังกรสวรรค์



ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งแต่เดิมเรียกกันว่า ศาลเทพารักษ์หลักเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีและ ประชาชนทั่วๆไปมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว  ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ในเขตเมืองโบราณสุพรรณบุรี ถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง และอุทยานมังกรสวรรค์
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดั้งเดิมเป็นเรือนทรงไทย ภายในประดิษฐานเทวรูปพระนารายณ์สององค์คู่กัน สลักจากหินสีเขียว สวมหมวกทรงกระบอก เป็นศิลปกรรมในสมัยลพบุรี
พ.ศ. ๒๔๓๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จมาตรวจราชการหัวเมืองสุพรรณบุรี และได้เสด็จมาทอดพระเนตรศาลหลักเมืองแห่งนี้ด้วย

     พ.ศ. ๒๔๔๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)  ได้เสด็จประพาสต้น ทรงกระทำพลีกรรม ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อเขื่อนรอบเนินศาล และทำชานสำหรับคนบูชา สร้างกำแพงแก้ว ต่อตัวศาลออกมาข้างหน้าเป็นแบบเก๋งจีนอีกด้วย

     พ.ศ. ๒๔๗๘ กรมศิลปากรได้ ประกาศ ขึ้นทะเบียนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

     ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ กับเจ้าพระยายมราช ทรงสนพระทัยในการปรับปรุงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนี้เพิ่มเติมขึ้นอีก สร้างกำแพงล้อมเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีประตูเข้าด้านหน้า มีศาลาพักคนบูชา
พ.ศ. ๒๕๐๗ คณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมืองได้ปรับปรุงซ่อมแซมศาลหลักเมืองใหม่ แต่ยังคงรูปแบบอาคารซึ่งเป็นอาคารทรงไทยไว้ หลังจากนั้นก็มีการซ่อมแซมก่อสร้างปรับปรุงเรื่อยมา

ต่อมาในภายหลังศาลเจ้าพ่อหลักเมืองชำรุดทรุดโทรมลงไป นายบรรหาร ศิลปอาชาพร้อมด้วยคณะกรรมการ จึงได้ปรับปรุงศาลเจ้าพ่อหลักเมืองขึ้นมาอีกให้กว้างขึ้น โดยสร้างอาคารแบบจีนคลุมศาลเก่าเอาไว้
นายบรรหารและคณะกรรมการ ยังได้ซื้อที่ดินบริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพิ่มอีกจำนวน ๗ ไร่ และทุกๆปีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ของจีน จะมีงานประเพณี ทิ้งกระจาด” (หรือ พิธีให้ทาน) ซึ่งจัดกันขึ้นที่สมาคมจีน โดยจะนำสิ่งของต่างๆ  และสิ่งของจำเป็นอื่นๆ มาแจกแก่ผู้ยากจนทั่วไป

     ปัจจุบันนอกจากคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จะคอยดูแลศาลปรับปรุงศาลแล้ว  ยังได้ทำการสร้าง อุทยานมังกรสวรรค์ ที่บริเวณปากทางเข้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองอย่างสวยงาม เพื่อให้เป็นที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของชาวสุพรรณบุรีและประชาชนทั่วไปอีกด้วย



พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร (อุทยานมังกรสวรรค์) ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ.2539 โดยนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรมจีนที่มีมายาวนานถึง 5,000 ปี จนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ภายใต้รูปแบบของมังกร สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ภายในจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์จีน โดยจะแบ่งออกเป็น 18 ห้อง ตั้งแต่สมัยตำนานการสร้างโลกยุคแรกเริ่มทางประวัติศาสตร์ ลำดับราชวงศ์ตั้งแต่ยุคหวงตี้ถึงราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ ดร. ซุนยัดเซ็น ยึดอำนาจจากจักรพรรดิและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยและช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็คกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยเหมาเจ๋อตุง จนมาถึงการสถาปนาสาธารณรัฐจีน ตลอดจนประวัติความเป็นมาของพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเรื่องราวที่นำเสนอประกอบด้วย เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญ ปรัชญา ภูมิปัญญา และการค้นพบประดิษฐกรรมสำคัญของบรรพบุรุษชาวจีน ผ่านสื่อจัดแสดงที่น่าสนใจ การจัดแสดงนิทรรศการภายในตัวมังกรใช้สื่อจัดแสดงทันสมัย เช่น ภาพยนตร์ ระบบโสตทัศนูปกรณ์ที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ แสง เสียง หุ่นจำลอง พรั่งพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องรับฝากของ จำหน่ายหนังสือ และห้องจำหน่ายของที่ระลึก มุ่งเน้นให้ผู้เข้าชมได้รับความรู้และความเพลิดเพลิน โดยสอดแทรกคุณธรรมสำคัญในการดำเนินชีวิตที่บรรพบุรุษชาวจีนยึดถือ

***********************************************************************************************************************

วัดป่าเรไลยก์




*********************************************************************************

หอคอยบรรหาร



หอคอยบรรหาร-แจ่มใส หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า หอคอยบรรหาร ตั้งตามชื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ผู้เป็นภริยา ตั้งอยู่ภายในสวนเฉลิมภัทรราชินี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สวนสาธารณะที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในวโรกาสครบ 60 พระพรรษา หอคอยบรรหารถือเป็นแลนด์มาร์คที่โดดเด่นที่เมื่อไหร่ที่พูดถึงจังหวัดสุพรรณบุรีมักจะต้องนึกถึงภาพหอคอยบรรหารขึ้นมาอยู่เสมอ หอคอยบรรหารเป็นหอคอยชมวิวแห่งแรกของประเทศและเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123.25 เมตร แบ่งออกเป็น 4 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถซื้อบัตรเพื่อขึ้นไปชมทัศนียภาพของหอคอยบรรหารชั้นบนได้รอบด้าน ที่น่าสนใจคือหอคอยบรรหารชั้นที่ 4 จะมีกล้องส่องทางไกลหยอดเหรียญให้บริการอยู่ทั่วทุกจุด สามารถมองเห็นเมืองสุพรรณบุรีได้ทั่วบริเวณ

ภายในสวนเฉลิมภัทรราชินี นอกจากจะมีหอคอยบรรหารแล้ว ยังมีอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ลานน้ำพุดนตรี และผาน้ำตก สวนพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ สไลเดอร์และสวนน้ำ ประชาชนนิยมมาเดินเล่นและออกกำลังกายในสวนตอนเย็นๆ















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น